..... ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก นางสาว อารีย์พร ดีแป้น รหัส 544110236 สังคม หมู่ 3.....

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนที่ 5
การออกแบบการเรียนการสอน

       รูปแบบการสอน/รูปแบบการเรียนการสอน(Teaching/Instructional Model)  คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดระบบอย่างสัมพันธ์กับทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ  และได้รับการพิสูจน์  ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ   สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนินการสอนดังกล่าว   มักประกอบด้วยทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด   ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือเป็นแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่น ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ทฤษฎีสร้างความรู้นิยม (Constructivism)
ความหมายของทฤษฎีสร้างความรู้นิยม  ได้มีผู้ให้ความหมายและชื่อของทฤษฎี
Constructivism ไว้แตกต่างกัน ดังนี้
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน(สุภนิดา, 2553)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (
Constructivism Approach) มีหลักที่สำคัญเกี่ยวกับการสอน การเรียนรู้คือนักเรียนจะต้องสร้างความรู้ (Knowledge) ขึ้นในใจเอง ครูเป็นแค่เพียงผู้ช่วยหรือเข้าใจในกระบวนการนี้โดยหาวิธีการจัดการข้อมูลข่าวสารให้มีความหมายแก่นักเรียน หรือให้โอกาสนักเรียนได้มีโอกาสค้นพบด้วยตนเอง นอกจากนี้จะต้องสอนศิลปะการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน  นักเรียนจะต้องเป็นผู้ลงมือกระทำเองไม่ว่าครูจะใช้วิธีสอนอย่างไร (สุรางค์, 2541)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)  ทฤษฎีการสร้างความรู้ว่าด้วยผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นได้เอง การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของบุคคลในการสร้างความรู้และความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่ตนได้รับ ผ่านกระบวนการซึมซับ (Assimilation)  คือการนำข้อมูลหรือความรู้ใหม่ที่ได้รับไปเชื่อมโยงอย่างกลมกลืนกับโครงสร้างความรู้ที่ตนมีอยู่  และการปรับกระบวนการการรู้คิด  (Accommodation)  คือการคิดค้นหาวิธีการต่าง ๆ มาใช้ในการสร้างความเข้าใจจนเกิดเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อตนเอง  ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องเป็นผู้สร้างด้วยตนเองและสามารถทำได้ดียิ่งหากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากที่อื่น (ราชบัณฑิตสถาน, 2551)
นิรมิตนิยม (Constructivism) (นิรมิต แปลว่า สร้าง) สรุปไว้ว่านิรมิตนิยมเชื่อว่า ความรู้ ก็คือ
สิ่งที่ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจ    ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเขา  ขึ้นอยู่กับการแปลความหมายของเขา เราไม่สามารถจะถ่ายทอดความรู้จากการสอนโดยตรง  แต่เด็กจะต้องค้นพบความรู้ด้วยตัวของเขา  ซึ่งก็หมายความว่าเด็กต้องสร้าง (Construct) ความรู้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง   การสร้างความรู้นั้นก็มีหลักการว่า ต้องเรียนความรู้จากบริบทที่แวดล้อมอยู่ ต้องเรียนจากการทำจริงปฏิบัติจริงจากสถานการณ์ที่เป็นจริง ครูยังมีบทบาทสำคัญ ไม่ใช่ฐานะผู้สอนแต่เป็นผู้อำนวยความสะดวก เด็กต้องมีอิสระที่จะเลือก ที่จะเรียน  เด็กต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อนนักเรียนด้วยกันมีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ฯลฯ
ทฤษฎีการสร้างความรู้นิยม (
Constructivism) เป็นทฤษฎีที่เน้นบทบาทของความรู้พื้นฐานและความเข้าใจในปัจจุบันของผู้เรียนในการเรียนรู้หรือสร้างข้อมูลอย่างมีความหมาย  นักทฤษฎีสร้างความรู้นิยม เน้นความสำคัญของความเข้าใจปัจจุบัน  


NECTEC’s Web based Learning ได้กล่าวถึงการเรียนรู้ตามทฤษฎีของBruner ไว้ดังนี้

1.  ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์
2.  ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3.  ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่าง ๆ
4.  ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5.  ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6.  เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม
  การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner